ไวน์โลกเก่า และ ไวน์โลกใหม่ ใครถูกใครผิด?
เมื่อเดือนที่ผ่านมา ได้มีโอกาสได้ร่วมเดินทางไปกับ กูรูไวน์อันดับต้นๆ ของเมืองไทยท่านหนึ่ง ซึ่งระหว่างเดินทางท่านได้แนะนำและสอนเรื่องไวน์ให้ผมได้รู้จักและมีความรู้มากขึ้น วันนี้ผมเลยจะมาเกริ่นให้พี่ๆ เพื่อนๆ น้องๆ ได้ทราบถึงแหล่งที่ผลิตไวน์แบบเบื้องต้นให้ได้ทราบกัน นั้นก็คือการแบ่งเขตของการผลิตไวน์ หรือ Region นั้นเองครับ เวลาที่ไปตาม Wine Cellar ต่างๆ หลายๆ ท่านอาจจะเคยได้ยินหรือเคยผ่านตามาบ้างกับคำว่า Old World กับ New World เราลองมาดูความหมายของ 2 คำนี้กันครับ จริงๆ แล้ว 2 คำนี้หมายถึงการแบ่งเขตตามพื้นที่ผลิต (Region) ขั้นพื้นฐานที่สุดครับ ซึ่งแต่ละพื้นที่ก็ยังสามารถแบ่งลงไปลึกๆ ได้อีกมากมายครับ
Old World Wines (ไวน์โลกเก่า)
คือไวน์ที่ผลิตในประเทศแถบยุโรปเกือบทั้งหมด ผลิตมาแล้ว 500-600
ปีขึ้นไป เช่น ฝรั่งเศส อิตาลี
สเปน โปรตุเกส ออสเตรีย เยอรมัน ฮังการี เป็นต้น
การผลิตไวน์ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันก็ยังคงรักษาประเพณีเก่าแก่กันมาตั้งแต่โบราณ
ไหนยังต้องใส่ใจในพันธุ์องุ่นที่ใช้เพาะปลูกและผลิตในแต่ละพื้นที่ รวมไปถึงการหมัก
การบ่ม ซึ่งจะนำไปสู่กลิ่นและรสของไวน์
แม้ว่าในปัจจุบันผู้ผลิตไวน์โลกเก่าจะได้ปรับเปลี่ยนไปบ้างตามความเป็นไปของสังคมยุคปัจจุบัน
มีการผสมองุ่นข้ามสายพันธุ์ เพื่อให้ได้สายพันธุ์ใหม่ที่มีคุณสมบัติตามต้องการ
แต่ก็ยังไม่ได้เปลี่ยนไปมากถึงขนาดลืมประเพณี วัฒนธรรมเดิมที่มีมานาน
การปลูกองุ่นนั้นต้องอาศัยประสบการณ์ ต้องศึกษาสภาพภูมิอากาศ สภาพของดิน และปัจจัยต่างๆ
อีกมากมายที่เกี่ยวข้อง
รวมไปถึงกรรมวิธีการหมักและบ่มไวน์ในถังไม้โอ๊คที่มีเอกลักษณ์ Old
World Wines หรือไวน์โลกเก่านั้นจึงจะยึดติดกับหลักการดั่งเดิม
(Tradition) จนเป็นประเพณีสืบทอดกันมารุ่นสู่รุ่นนั้นเอง
New World Wines (ไวน์โลกใหม่)
คือไวน์ที่ผลิตในประเทศนอกยุโรป หรือผลิตไวน์มาไม่เกิน 500 ปี เช่น สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ชิลี
อาร์เจนติน่า แอฟริกาใต้ เป็นต้น ประเทศเหล่านี้ส่วนใหญ่จะมีผู้ผลิตไวน์จาก Old
World หรือประเทศในแถบยุโรป
นำวิธีการปลูกองุ่น การผลิตไวน์มาสอนไว้ในช่วงที่เดินทางมาถึงประเทศเหล่านี้
โดยส่วนใหญ่จะนำองุ่นมาจากยุโรปเพื่อเพาะปลูก
ขณะเดียวกันก็เสาะหาพันธุ์องุ่นมาผสมพันธุ์กัน จนกลายเป็นพันธุ์ใหม่
ที่ทนต่อสภาพดินฟ้าอากาศและภูมิประเทศนั้นๆ อีกด้วย ไวน์ที่ได้มาจะได้มีกลิ่น สี
รส เท่าเทียมหรืดีกว่าไวน์ที่ผลิตจากแหล่งกำเนิดเดิมในยุโรป
แต่ส่วนใหญ่แล้วจะได้แค่คุณภาพปานกลางหรือต่ำ เมื่อเทียบกับไวน์จาก Old
World ส่วนกระบวนการผลิตก็จะ (Innovation)
หรือใช้กรรมวิธีผลิตแบบใหม่ไม่ยึดติดกับรูปแบบเดิมๆ
มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอเพื่อให้สอดคล้องกับกลไกของตลาดหรือสังคม เพื่อให้ทำง่าย
ขายคล่องกับตลาดในขณะนั้น ถ้าตลาดต้องการไวน์
ผู้ผลิตไวน์โลกใหม่ก็รีบผลิตตามความต้องการเพื่อตอบสนองนักดื่มไวน์ได้ทันที
เป็นต้น
เป็นเรื่องที่อาจจะยากสำหรับนักดื่มไวน์บางคนที่ยังไม่รู้ถึงความแตกต่างระหว่างการดื่มไวน์ โลกเก่า กับ โลกใหม่ ซึ่งถ้าจะกล่าวถึงข้อแตกต่างของไวน์ทั้ง 2 โลกนั้นจะใกล้เคียงกันมาก จะต่างกันเพียงแค่สีความเข้มของไวน์และกลิ่นองุ่นที่ผสานกับกลิ่นไม้โอ๊ค ซึ่งไวน์โลกเก่าจะผวับซ้อนมากกว่าไวน์โลกใหม่ ปัจจุบันไวน์โลกเก่าจะถึงควบคุม มีกฏระเบียบข้อบังคับในการเพาะปลูกองุ่นและผลิตไวน์ เพื่อควบคุมคุณภาพอย่างเคร่งครัด จึงทำให้ไวน์โลกเก่ายังคงอยู่ในใจของนักดื่มไวน์ไปอีกนานแสนนานกันเลยทีเดียวครับ ไว้โอกาสหน้าผมจะนำเรื่องของไวน์แบบลงลึกไปแต่ละภูมิภาคในยุโรป มาเล่าสู่กันฟังอีกในคราวหน้า ส่วนวันนี้ขอตัวไปจิบไวน์โลกเก่าก่อนนะครับ
*** ขอขอบพระคุณรูปภาพจาก The Standard ด้วยครับ ***
“การดื่มไวน์ไม่มีผิดไม่มีถูก” แล้วแต่ความชอบของแต่ละบุคคล แต่มันจะมีรสชาติมากขึ้นถ้าได้ดื่มกับคนที่รู้ใจกัน